วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

วันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอุทัยธานี







ชุดผ้าทอ ,ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ
1. ฟืม
2. กี่พื้นบาน
3. เครื่องกรอด้าย
4. กระสวยและหลอดด้าย
5. ไม้เก็บ 6.ไม้หลาบ 7.ไม้คิว 8.กรรไกร 9. ปอย
การย้อมสีด้ายเพื่อทอผ้าลายโบราณ ต้องอาศัยเทคนิควิธีพิเศษที่ยังคงปฏิบัติตามกรรมวิธีย้อมที่ถ่ายทอดวิธีการมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลา 200-300 ปี อย่างเคร่งครัด โดยจะใช้สีวัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดได้แก่ เปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ดอกไม้เช่น สีจากเปลือกฝาง เปลือกเพกา เปลือกจาน ใบสัก ใบกระท้อนใบซึก เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. กรองน้ำให้สะอาด 2. ต้มน้ำเพื่อเตรียมการแยกไขมัน3. ต้มฝ้ายเพื่อแยกไขมัน 4. นำฝ้ายที่แยกไขมันแล้วขึ้นมาผึ่งให้แห้ง 5. เตรียมวัสดุสีธรรมชาติ ( ใบไม้ , เปลือกไม้ , ผลไม้ , ดอกไม้ ) 6. ต้มให้สีของใบไม้ เปลือกไม้ออกทิ้งไว้ให้ตกตะกอน 7. ต้มฝ้ายในน้ำผสมจุนสีหรือสารส้มเพื่อให้สีติดแน่น 8. นำสีธรรมชาติที่ต้มแล้วมากรองแล้วนำมาต้มเพื่อเตรียมการย้อม 9. ต้มฝ้ายกับสีธรรมชาติ 10. นำฝ้ายที่ย้อมแล้วมาแช่ในน้ำยากันสีตก 11. นำมาล้างน้ำที่สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง
สนใจติดต่อได้ที่
กลุ่มผู้ผลิตบ้านนาตาโพ คุณอำไพ สารรัตน์ บ้านเลขที่ 4 หมู่ 3
ต.บ้านพึง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี 61140 โทร. 01-9710521 ,
01-9532372....*** ///



ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่

ร่มกระดาษสาแบบบ่อสร้าง
การทำร่มกระดาษสาของบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงนี้ มีกรรมวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งสืบทอดจากการคิดค้นสร้างสรรค์มาเป็นเวลายาวนาน ต้องอาศัยความชำนาญและฝีมืออย่างสูง รวมทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ส่วนประกอบสำคัญ
ส่วนประกอบสำคัญของร่มกระดาษสานั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
- หัวร่มหรือกำพู คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของคันร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน
- ตุ้มร่ม คือ ส่วนที่ประกอบกับซี่ร่มสั้น อยู่ด้านล่าง มีลักษณะเดียวกับหัวร่ม
- ซี่ร่ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่ม โดยซี่ร่มสั้นเป็นส่วนที่อยู่ติดกับตุ้มร่ม ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยันซี่ร่มยาว ร่มจะหุบหรือการได้ก็ขึ้นอยุ่กับซี่ร่มนี้เอง ซึ่งจะนำมาประกอบกับหัวร่มด้วยการใช้เชือกมัด ส่วนของซี่ร่มนี้ใช้ไม้ไผ่ทำเนื่องจากไม้ไผ่สามารถนำมาตัดซอยเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ง่าย
- คันร่ม คือ ส่วนที่เป็นด้ามใช้สำหรับถือ ตรงด้านบนใกล้ ๆ ตุ้มร่มที่ประกอบติดกับซี่ร่มสั้นมีลวดสลักในรูสำหรับยึดซี่ร่มไม่ให้หุบลงเวลากางออกและเมื่อกดลวดสลักลงกลับในรู ร่มก็จะหุบเพราะตุ้มร่มจะรูดลงมา ส่วนของคัดร่มนี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่น
- กระดาษสาสำหรับปิดร่ม คือ ส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับกันแดดกันฝน
การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
อิๆๆๆพิลิกจังเลยนะเนี่ย...?

วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางแพ

การผลิตกุยช่ายขาย โดยการผลิตจากกุยช่ายเขียวเป็นการเพิ่มมูลค่าโดยใช้กระถางดินเผาครอบต้นกุยช่ายเพื่อไม่ให้สังเคราะห์แสง ทำให้ต้นและใบของกุยช่ายจะมีสีเหลืองปนขาวเรียกว่า "กุยช่ายขาว" จากปกติชนิดเขียว ราคา 12 - 20 บาท แต่เมื่อเป็นชนิดขาว จะมีราคาเพิ่มเป็น 90 - 100 บาทต่อกิโลกรัม ...
สนใจติดต่อได้ที่ นางวนิดา หนูเล็ก บ้านเลขที่ 9/5 หมู่ 7 ตำบลบางแพ จังหวัดราชบุรี โทร.081-9811720 .//***

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอโพธาราม

การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั่งเดิมโดยการนำใยฟ้ายหรือใยไหมมาสาวปั่นเป็นเส้นใยแล้วมัดย้อมให้ได้สีีตามต้องการ แล้วจึงนำมาขัดทอเป็นลวดลายเพื่อใช้ในการส่วมใส่ แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงมีการใช้เครื่องทอผ้าแทนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกจึงน้อยลงไปคุณป้าสุนันทา บัวจีน เป็นผู้หนึ่งที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้ให้กับเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป จึงได้นำลูกหลานและเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาฝึกทอผ้าเพื่อสิบทอดภูมิปัญญานี้ไว้
สนใจติดต่อได้ที่ +++ นางสาวสุนันทา บัวจีน บ้านเลขที่ 106 หมุ่ที่ 7 ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 เบอร์โทรศัพย ์089-9108147 ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสวนผึ้ง

ศิลปะรากไม้ เป็นงานศิลปะไม่ซ้ำแบบเดิมกระตุ้นจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เพิ่มมูลค่าทรัพยากรและเกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรการทำคือการนำเศษซากรากไม้ กิ่งไม้มาตัดต่อขัดเกลา เพิ่มสี สรรให้สวยงามสามารถใช้ประโยชน์ตกแต่งประดับ ฯลฯ โดยสร้างรูปทรงจากเค้าโครงของธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ในเชิงศิลปะและการนำวัสดุอื่น ๆ มาประกอบตามความเหมาะสม ของเรื่องที่ประดิษฐ์นั้น...
สนใจติดต่อ >>>นายทองเติม ทุรันตะวิริยะบ้านเลขที่ 61หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี>>>สำนักงานเกษตรอำเภอสวนผึ้ง
โทร. 032-395019 ...***.