วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
วันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอุทัยธานี
ชุดผ้าทอ ,ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ
1. ฟืม
2. กี่พื้นบาน
3. เครื่องกรอด้าย
4. กระสวยและหลอดด้าย
5. ไม้เก็บ 6.ไม้หลาบ 7.ไม้คิว 8.กรรไกร 9. ปอย
1. ฟืม
2. กี่พื้นบาน
3. เครื่องกรอด้าย
4. กระสวยและหลอดด้าย
5. ไม้เก็บ 6.ไม้หลาบ 7.ไม้คิว 8.กรรไกร 9. ปอย
การย้อมสีด้ายเพื่อทอผ้าลายโบราณ ต้องอาศัยเทคนิควิธีพิเศษที่ยังคงปฏิบัติตามกรรมวิธีย้อมที่ถ่ายทอดวิธีการมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลา 200-300 ปี อย่างเคร่งครัด โดยจะใช้สีวัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดได้แก่ เปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ดอกไม้เช่น สีจากเปลือกฝาง เปลือกเพกา เปลือกจาน ใบสัก ใบกระท้อนใบซึก เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. กรองน้ำให้สะอาด 2. ต้มน้ำเพื่อเตรียมการแยกไขมัน3. ต้มฝ้ายเพื่อแยกไขมัน 4. นำฝ้ายที่แยกไขมันแล้วขึ้นมาผึ่งให้แห้ง 5. เตรียมวัสดุสีธรรมชาติ ( ใบไม้ , เปลือกไม้ , ผลไม้ , ดอกไม้ ) 6. ต้มให้สีของใบไม้ เปลือกไม้ออกทิ้งไว้ให้ตกตะกอน 7. ต้มฝ้ายในน้ำผสมจุนสีหรือสารส้มเพื่อให้สีติดแน่น 8. นำสีธรรมชาติที่ต้มแล้วมากรองแล้วนำมาต้มเพื่อเตรียมการย้อม 9. ต้มฝ้ายกับสีธรรมชาติ 10. นำฝ้ายที่ย้อมแล้วมาแช่ในน้ำยากันสีตก 11. นำมาล้างน้ำที่สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง
สนใจติดต่อได้ที่
กลุ่มผู้ผลิตบ้านนาตาโพ คุณอำไพ สารรัตน์ บ้านเลขที่ 4 หมู่ 3
ต.บ้านพึง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี 61140 โทร. 01-9710521 ,
01-9532372....*** ///
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่
ร่มกระดาษสาแบบบ่อสร้าง
การทำร่มกระดาษสาของบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงนี้ มีกรรมวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งสืบทอดจากการคิดค้นสร้างสรรค์มาเป็นเวลายาวนาน ต้องอาศัยความชำนาญและฝีมืออย่างสูง รวมทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
การทำร่มกระดาษสาของบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงนี้ มีกรรมวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งสืบทอดจากการคิดค้นสร้างสรรค์มาเป็นเวลายาวนาน ต้องอาศัยความชำนาญและฝีมืออย่างสูง รวมทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ส่วนประกอบสำคัญ
ส่วนประกอบสำคัญของร่มกระดาษสานั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
- หัวร่มหรือกำพู คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของคันร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน
- ตุ้มร่ม คือ ส่วนที่ประกอบกับซี่ร่มสั้น อยู่ด้านล่าง มีลักษณะเดียวกับหัวร่ม
- ซี่ร่ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่ม โดยซี่ร่มสั้นเป็นส่วนที่อยู่ติดกับตุ้มร่ม ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยันซี่ร่มยาว ร่มจะหุบหรือการได้ก็ขึ้นอยุ่กับซี่ร่มนี้เอง ซึ่งจะนำมาประกอบกับหัวร่มด้วยการใช้เชือกมัด ส่วนของซี่ร่มนี้ใช้ไม้ไผ่ทำเนื่องจากไม้ไผ่สามารถนำมาตัดซอยเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ง่าย
- คันร่ม คือ ส่วนที่เป็นด้ามใช้สำหรับถือ ตรงด้านบนใกล้ ๆ ตุ้มร่มที่ประกอบติดกับซี่ร่มสั้นมีลวดสลักในรูสำหรับยึดซี่ร่มไม่ให้หุบลงเวลากางออกและเมื่อกดลวดสลักลงกลับในรู ร่มก็จะหุบเพราะตุ้มร่มจะรูดลงมา ส่วนของคัดร่มนี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่น
- กระดาษสาสำหรับปิดร่ม คือ ส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับกันแดดกันฝน
การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ส่วนประกอบสำคัญของร่มกระดาษสานั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
- หัวร่มหรือกำพู คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของคันร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน
- ตุ้มร่ม คือ ส่วนที่ประกอบกับซี่ร่มสั้น อยู่ด้านล่าง มีลักษณะเดียวกับหัวร่ม
- ซี่ร่ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่ม โดยซี่ร่มสั้นเป็นส่วนที่อยู่ติดกับตุ้มร่ม ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยันซี่ร่มยาว ร่มจะหุบหรือการได้ก็ขึ้นอยุ่กับซี่ร่มนี้เอง ซึ่งจะนำมาประกอบกับหัวร่มด้วยการใช้เชือกมัด ส่วนของซี่ร่มนี้ใช้ไม้ไผ่ทำเนื่องจากไม้ไผ่สามารถนำมาตัดซอยเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ง่าย
- คันร่ม คือ ส่วนที่เป็นด้ามใช้สำหรับถือ ตรงด้านบนใกล้ ๆ ตุ้มร่มที่ประกอบติดกับซี่ร่มสั้นมีลวดสลักในรูสำหรับยึดซี่ร่มไม่ให้หุบลงเวลากางออกและเมื่อกดลวดสลักลงกลับในรู ร่มก็จะหุบเพราะตุ้มร่มจะรูดลงมา ส่วนของคัดร่มนี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่น
- กระดาษสาสำหรับปิดร่ม คือ ส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับกันแดดกันฝน
การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางแพ
การผลิตกุยช่ายขาย โดยการผลิตจากกุยช่ายเขียวเป็นการเพิ่มมูลค่าโดยใช้กระถางดินเผาครอบต้นกุยช่ายเพื่อไม่ให้สังเคราะห์แสง ทำให้ต้นและใบของกุยช่ายจะมีสีเหลืองปนขาวเรียกว่า "กุยช่ายขาว" จากปกติชนิดเขียว ราคา 12 - 20 บาท แต่เมื่อเป็นชนิดขาว จะมีราคาเพิ่มเป็น 90 - 100 บาทต่อกิโลกรัม ...
สนใจติดต่อได้ที่ นางวนิดา หนูเล็ก บ้านเลขที่ 9/5 หมู่ 7 ตำบลบางแพ จังหวัดราชบุรี โทร.081-9811720 .//***
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอโพธาราม
การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั่งเดิมโดยการนำใยฟ้ายหรือใยไหมมาสาวปั่นเป็นเส้นใยแล้วมัดย้อมให้ได้สีีตามต้องการ แล้วจึงนำมาขัดทอเป็นลวดลายเพื่อใช้ในการส่วมใส่ แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงมีการใช้เครื่องทอผ้าแทนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกจึงน้อยลงไปคุณป้าสุนันทา บัวจีน เป็นผู้หนึ่งที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้ให้กับเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป จึงได้นำลูกหลานและเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาฝึกทอผ้าเพื่อสิบทอดภูมิปัญญานี้ไว้
สนใจติดต่อได้ที่ +++ นางสาวสุนันทา บัวจีน บ้านเลขที่ 106 หมุ่ที่ 7 ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 เบอร์โทรศัพย ์089-9108147 ...
ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสวนผึ้ง
ศิลปะรากไม้ เป็นงานศิลปะไม่ซ้ำแบบเดิมกระตุ้นจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เพิ่มมูลค่าทรัพยากรและเกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรการทำคือการนำเศษซากรากไม้ กิ่งไม้มาตัดต่อขัดเกลา เพิ่มสี สรรให้สวยงามสามารถใช้ประโยชน์ตกแต่งประดับ ฯลฯ โดยสร้างรูปทรงจากเค้าโครงของธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ในเชิงศิลปะและการนำวัสดุอื่น ๆ มาประกอบตามความเหมาะสม ของเรื่องที่ประดิษฐ์นั้น...
สนใจติดต่อ >>>นายทองเติม ทุรันตะวิริยะบ้านเลขที่ 61หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี>>>สำนักงานเกษตรอำเภอสวนผึ้ง
โทร. 032-395019 ...***.
สนใจติดต่อ >>>นายทองเติม ทุรันตะวิริยะบ้านเลขที่ 61หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี>>>สำนักงานเกษตรอำเภอสวนผึ้ง
โทร. 032-395019 ...***.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)