วันจันทร์ที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

สัวสดีค่ะ...คนน่ารัก...จ๊ะจ๋า...***


คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้คลิก! เพื่อเอาโค้ดรูปนี้

วันอาทิตย์ที่ ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

พิธีรับประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู รุ่น 10













* มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง*...///***

วันเสาร์ที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

รัก คืออะไร ทำไมต้องเจ็บ เมื่อไม่สมหวัง ทำไม้ต้องเป็นแบบนี้...?....
รัก คือ การให้ เสียสละ... ถึงแม้จะไม่ได้อยู่ด้วยกัน ยินดีเมือเห็นคนที่เรารักสมหวัง มีความสุข
เพียงแค่ได้เห็นคนที่เรารักยิ้ม หัวเราะ มีความสุข ถึงไม่ได้เห็นหน้า ... เห็นแค่บ้าน >ที่ทำงานก็ดี
บางสิ่งที่เราเห็น ก็อาจจะไม่ใช่ หรืออาจจะใช่ก็ได้ มันยากนะ+++**
" รัก เหมือน คลื่น "
"เธอ เหมือน ฝั่ง "
"ฉัน เหมือน ซัด "
คลื่น ซัด ฝั่ง แล้วก็จางหาย ...แต่จะลืมได้ยังไงในเมื่อคลื่นไม่ได้มีลูกเดียว....**

วันศุกร์ที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๒

แก่งส้มแมว(สวนป่าสิริกิต์)

ห่างจาก อ.สวนผึ้ง 25 กม. เป็นลำธาร มีเกาะแก่งกลางน้ำภาชี เหมาะสำหรับเล่นน้ำเป็นอย่างยิ่ง อยู่ในพื้นที่สวนป่าสิริกิต์ภายในสวนป่ามีสวนหย่อม ศูนย์จำหน่ายเครื่องเซรามิคจากคนในบริเวณหมู่บ้าน สวนป่าแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบ เป็นศูนย์รวมพันธุ์ไม้นานาชนิดอันมีค่าทางเศษรฐกิจและเป็นแหล่งศึกษาทางธรรมชาติที่ดีเยี่ยมนักท่องเที่ยวจะมาล่องแก่งหรือพายเรือเล่นกันที่นี่ ทางเข้าจะมีร้านค้า ร้านอาหาร คอยบริการอยู่ เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพายเรือล่องแก่ หรือนักพักผ่อนรับประทานอาหารริมลำธาร... ***/

วันศุกร์ที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

ท่องเที่ยวสวนผึ้ง...กันดีกว่า...นะจ๊ะ***

ฟาร์มกล้วยไม้-ลันดา
อยู่ถัดจากอุทยานธรรมชาติวิทยาไปไม่ถึง 1 กม. เป็นสวนกล้วนไม้เอกชน มีพันธุ์กล้วยไม้จำพวก แวนด้า ไว้จำหน่าย...***
อ้างอิงโดย

วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

อุทยานธรรมชาติวิทยา


ศูนย์กลางให้ความรู้ทางด้านพันธุ์ไม้ป่า สัตว์ป่าจำพวก นก แร่ต่างๆในเขตป่าตะวันตก วิถีชีวิตคนพื้นเมือง เช่นกระเหรี่ยง มีเส้นทางศึกษาธรรมชาติติดกับธารน้ำร้อนบ่อคลึง หากเดินป่าไปประมาณ 1 กม จะถึงน้ำตกเก้าโจน
****
อ้างอิงโดย

น้ำตกบ้านบ่อหวี..*

เป็นน้ำตกขนาดกลางเพิ่งพบใหม่ มี 7 ฃั้น มีความเป็นธรรมชาติอยู่มาก ทางเข้าผ่านหมู่บ้าน และวัดบ้านบ่อหวี ไปอีก ประมาณ 2 กม. มีถนนลาดยางตลอดถึงทางเข้าตัวน้ำตก จากนั้นเดินเท้าประมาณ 150 เมตร จะถึงน้ำตกชั้นที่ 1 สายน้ำมีความใสมากกว่าน้ำตกเก้าโจน เหนือขึ้นไปบนน้ำตกจะเป็นชายแดนไทย-พม่า มีฐานทหารรักษาการอยู่ นายทหารผู้หนึ่งเล่าให้ thai-tour ฟังว่าบนตะเข็บชายแดนนี้สามารถเดินเชื่อมไปถึงเขากระโจมได้
ขึ้นถึงน้ำตกชั้นที่ 7 ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 40 นาที***++
อ้างอิงโดย

พิพิธภัณฑ์ภโวทัย หรือ สวนภูมิปัญญชาวบ้าน ---


เป็นเรือนไทยประยุกต์จากหน้านสถานีตำรวจสวนผึ้งแยกไปประมาณ 2 กม. ผ่านวัดสวนผึ้งแล้วแยกขวาไปอีกจนข้ามสะพานก็จะถึงพิพิธภัณฑ์ที่อยู่ทางซ้ายมือมีพื้นที่ประมาณ 20 ไร่ รวบรวมวัตถุโบราณสยามในอดีต รวมทั้งมีรถม้า พันธุ์ไม้ดอก ไม้ประดับของไทยชนิดต่าง ๆ เช่น ดอกมณโฑ พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมทุกวัน เสาร์-อาทิตย์ วันหยุดราชการ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเครื่องแบบให้ทำจดหมายก่อนล่วงหน้า นอกจากนี้ยังมีบ้านพักไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร(032) 221189, (01) 486-9804 ***.

อ้างอิงโดย
http://3msat1.multiply.com/journal/item/3

น้ำตกเก้าโจนหรือน้ำตกเก้าชั้น...

ตั้งอยู่ที่บ้านผาปก อยู่ถัดจากธารน้ำร้อนบ่อคลึงไปประมาณ 3 กม. จากลานจอดรถซึ่งอยู่ด้านล่างให้เดินทางด้วยเท้าต่อไปอีกประมาณ 500 เมตร ถึงบริเวณตัวน้ำตก ตอนล่างของลำห้วยบ่อคลึงบริเวณเทือกเขาตะนาวศรีมีน้ำตกเก้าโจน หรือน้ำตกเก้าชั้นเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูง 9 ชั้น ตั้งอยู่ในหุบเขาที่สมบูรณ์ล้อมรอบด้วยธรรมชาติระยะทางเดินจากชั้นล่างถึงชั้นบนประมาณ 2 กม. ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. +++
อ้างอิงโดย
http://3msat1.multiply.com/journal/item/3

โป่งยุบ

ตั้งอยู่ที่บ้านท่าเคย ก่อนถึงตัวอำเภอสวยผึ้ง 5 กม. มีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 5 กม. เกิดจากยุบตัวของแผ่นดิน ทำให้เกิดลักษณะหน้าผาสูงชัน มีลักษณะคล้ายกับแพะเมืองผีที่จังหวัดแพร่ หรือ ฮ่อมจ๊อม อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โป่งยุบนี้มีอาณาบริเวณกว้างกว่า 10 ไร่ ซึ่งแต่เดิมท้องที่นี้เคยเป็นไร่นามาก่อน นับเป็นสถานที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง
+++.
อ้างอิงโดย
http://3msat1.multiply.com/journal/item/3

วันจันทร์ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

แนะนำแหล่งการเรียนรู้.....อาหารของภาคกลาง


อาหารภาคกลาง
ลักษณะอาหารพื้นบ้านภาคกลางมีที่มาต่างกันดังนี้
ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือ ขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภท ทองหยิบ ทองหยอด รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น
เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ โดยเฉพาะอาหารจากในวังที่มีการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภท ข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก
เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วย หมูหวาน แกงกะทิ แนมด้วยปลาเค็ม สะเดาน้ำปลาหวาน ก็ต้องคู่ กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับ น้ำพริกมะม่วง หรือไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกหลายชนิด เช่น ผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น
เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง.***
อ้างอิงโดย : 1)http://www.carboss.th.gs/web-c/arboss/test01-51/test-09-01-51.htm 2)http://student.swu.ac.th/sc481010115/middlefood.htm

แนะนำ...แหล่งอาหารของไทย

ประวัติอาหารไทย
อาหารไทยเป็นอาหารประจำของชนชาติไทยที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่าง ต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทยขณะที่อาหารพื้นบ้านหมายถึงอาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่นซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่ายโดยอาศัยพืชผักหรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธี ปรุงและการรับประทานต่อๆ กันมา
จุดกำเนิดของอาหารไทย
มีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้ เนิดอาหารไทย สมัยสุโขทัย
อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไทย ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับข้าว ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “ แกง ” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่ง นิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน
สมัยอยุธยา
สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้ง ชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบ เรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็น น้ำมันจาก มะพร้าว และ กะทิ มากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มากขึ้น คนไทย สมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็น ปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น น้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อ ใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่นแกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาว ของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของ บาทหลวง ชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติ ต่างๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจาก สเปน เปอร์เซีย และ ฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของ อาหารจีน นั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุค กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการฑูตและ ทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วน ใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
สมัยธนบุรี
จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือ แม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าว เล่มแรกของไทย ของ ท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทย จากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อม จากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหาร ไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน
สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 1 (พ.ศ. 2325 – พ.ศ. 2394)
อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือนอกจากมี
อาหารคาว อาหารหวาน แล้วยังมี อาหารว่าง เพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทย ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของ ประเทศจีน มากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จาก จดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวาน ของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร ( พระแก้วมรกต ) ได้แสดงให้เห็นว่า รายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุง ด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจาก หมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม
สมัยรัตนโกสินทร์ ยุคที่ 2 (พ.ศ.2394 - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้ง โรงพิมพ์ แห่ง แรกในประเทศไทย ดังนั้นตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัย รัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่อง ไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และ ยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่นๆ ซึ่ง ข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าว อาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าอาหารไทยบางชนิดใน ปัจจุบันได้มีวิธีการปรุงหรือส่วนประกอบของอาหารผิดเพี้ยนไปจากของดั้งเดิม จึงทำให้รสชาติ ของอาหารไม่ใช่ตำรับดั้งเดิม และขาดความประณีตที่น่าจะถือว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของอาหาร ไทย .....***

นำเสนอ...รับปริญญา

ครูดาพาท่องเที่ยว...จ๊ะ

ครูดาพาเที่ยวจริงนะ...

วันเสาร์ที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๑

วันจันทร์ที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๑

โครงการพระราชดำริที่สำคัญ ๆ




ได้แก่
1. โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
2. โครงการแก้มลิง
3. โครงการเพื่อการศึกษา
4. โครงการด้านคมนาคม / การสื่อสาร
5. โครงการฝนหลวง
6. โครงการด้านสิ่งแวดล้อม
***/.
การดำเนินชีวิตในระบบเศรษฐกิจ
แบบพอเพียง” ตามแนวพระราชดำริ
ศัพท์ทางวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์มีความหมายตรงกับคำว่า “Self – Sufficient Economy” มีความหมายถึงการดำรงชีวิตอยู่ได้โดยการพึ่งตนเองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระทานพระราชดำริเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงแก พสกนิกรชาวไทยทั้งมวล ในวาระที่ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในห้วงวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงจนเกิดผลกระทบทั่วทั้งประเทศ พระองค์ทรงพระราชดำรัสว่า “...ถ้าสามารถที่จะเปลี่ยนไปในทางที่จะทำให้กลับมาเป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียง ไม่ต้องทั้งหมดแม้จะครึ่งหนึ่งก็ไม่ต้อง อาจจะเศษหนึ่งส่วนสี่ก็จะสามารถอยู่รอดได้การแก้ไขอาจจะต้องใช้เวลา...”
เศรษฐกิจแบบพอเพียง” คือ การดำรงชีวิตในความพอดี มีชีวิตใหม่คือหวนกลับมาใช้วิถีไทย จะทำให้ชาติบ้านเมืองและตัวเองหลุดพ้นจากความทุกข์ และมีความสุขที่สุด ความหมายเศรษฐกิจพอเพียง หรือระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ความสามารถของชุมชนเมือง รัฐ ประเทศ หรือภูมิภาคหนึ่งๆ ในการผลิตสินค้า และบริการทุกชนิดเพื่อเลี้ยงสังคมนั้นๆได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาปัจจัยต่างๆ ที่ตนไม่ได้เป็นเจ้าของ เศรษฐกิจพอเพียงในระดับบุคคลนั้น คือ ความสามารถในการดำรงชีวิตได้อย่างอัตภาพ และที่สำคัญไม่หลงใหลไปตามกระแสของวัตถุนิยมมีอิสรภาพ เสรีภาพ ไม่พันธนาการอยู่กับสิ่งใด หากกล่าวโดยสรุปได้ว่า...

วันอังคารที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

สวัสดีค่ะ พี่ๆ เพื่อน ๆ ป.บัณฑิต(วิชาชีพครู) รุ่น 10 ทุกคนค่ะ ...นะจ๊ะ...

วันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านคมนาคม/สื่อสาร


โครงการสะพานพระราม 8...
โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ ให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง เมื่อปี 2538 ณ บริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้ธนาคารแห่งประเทศไทย และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า “โครงการสะพานพระราม 8” เพื่อระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลรัชกาลที่ 8” ด้วยทรงตระหนักถึงความคับคั่งของการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้นในอนาคต อีกทั้งเป็นการแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ ระหว่างพื้นที่ฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรีที่ยังขาดการเชื่อมต่อที่เพียงพอทำให้เกิดการคับคั่งของการจราจร บริเวณพื้นที่ด้านตะวันออกโดยเฉพาะกรุงเทพฯ ชั้นใน บริเวณถนนราชดำเนินราชดำเนินกลาง ซึ่งต่อกับฝั่งธนบุรีโดยผ่านสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนนจรัญสนิทวงศ์ ซึ่งเป็นถนนสายหลักเส้นหนึ่งของฝั่งธนบุรีที่มีปริมาณการจราจรคับคั่งให้สามารถคลี่คลายลงได้ ...***.

โครงการฝนหลวง

ต้นกำเนิดโครงการพระราชดำริฝนหลวง "...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
โครงการฝนหลวง คือ โครงการที่เกิดขึ้นจากพระราชดำริส่วนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีจุดประสงค์เพื่อสร้างฝนเทียมสำหรับบรรเทาความแห้งแล้งให้แก่เกษตรกร
การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ
1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ
2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น
3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง
1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง
4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่น จนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา ...

โครงการเศรษฐกิจพอเพียง

ภาพกิจกรรมโครงการเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านบึง
"มนูญวิทยาคาร"







โครงการเศรษฐกิจพอเพียง
"เศรษฐกิจพอเพียง"เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า25ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจและเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆอันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบรอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งทางด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดีประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆรวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องโดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาชนโดยทั่วไป... ***

โครงการด้านสิ่งแวดล้อม


การบำบัดน้ำเสียตามพระราชดำริด้วย "กังหันน้ำชัยพัฒนา"
จากการที่สภาพแวดล้อมได้เปลี่ยนแปลงเกิดเป็นภาวะมลพิษอันเกิดจากน้ำเน่าเสียที่มีอัตรา และปริมาณสูงขึ้นจนยากแก่การแก้ไขให้บรรเทา เบาบางและกลับมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้นนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตขึ้นได้เองในประเทศ โดยทรงมุ่งหวังที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐบาลในการบรรเทาน้ำเน่าเสียอีกทางหนึ่งด้วย โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบประมาณ เพื่อศึกษาวิจัย สิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ร่วม กับกรมชลประทาน ซึ่งต่อมาเครื่องมือบำบัดน้ำเสียนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย และเรียกกันว่า"กังหันน้ำชัยพัฒนา"
การทดลองวิจัยเพื่อประดิษฐ์เครื่องกลเติมอากาศในขณะนี้มี 9 รูปแบบ คือ
1. เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปใต้น้ำและกระจายฟองChaipattana Aerator, Model RX-1
เ2. ครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-3
3. เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาเวนจูรี่" Chaipattana Aerator, Model RX-4
4. เครื่องกลเติมอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ หรือ "ชัยพัฒนาแอร์เจท"Chaipattana Aerator, Model RX-5
5. เครื่องกลเติมอากาศแบบตีน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-6
เ6. ครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไปที่ใต้ผิวน้ำ หรือ "ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์" Chaipattana Aerator, Model RX-7
7. เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์ หรือ "ชัยพัฒนาไบโอ" Chaipattana Bio-Filter, Model RX-8 เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ หรือ "น้ำพุชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-9
8. เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า หรือ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" Chaipattana Aerator, Model RX-2
หลักการและวิธีการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศแบบทุ่นลอย สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ ตามระดับขึ้นลงของผิวน้ำ ในแหล่งน้ำเสีย มีส่วนประกอบสำคัญคือ
- โครงกังหันน้ำรูป 12 เหลี่ยม
- ซองบรรจุน้ำติดตั้งโดยรอบ จำนวน 6 ซอง รูซองน้ำพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจายเป็นฝอย
- ซองน้ำจะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบด้วยเกียร์มอเตอร์ ซึ่งทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำ วิดตักน้ำด้วย ความเร็ว สามารถวิดน้ำลึกลงไปจากใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำสาดขึ้นไปกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำ ได้สูงถึง 1 เมตรทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศมากและส่งผลให้ออกซิเจนสามารถละลาย เข้าไปในน้ำ ได้อย่างรวดเร็ว
- ในขณะที่น้ำเสียถูกยกขึ้นไปสาดกระจายสัมผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะก่อให้เกิดฟองอากาศ จมตามลงไปใต้ผิวน้ำด้วย ในขณะที่ซองน้ำกำลัง เคลื่อนที่ลงสู่ผิวน้ำแล้วกดลงไปใต้ผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซองน้ำภายใต้ผิวน้ำ จนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการ ถ่ายเทออกซิเจนได้สูงขึ้น หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้วจะเกิดการถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำ รวมทั้งการโยกตัว ของทุ่นลอยในขณะทำงานสามารถผลักดันน้ำให้เคลื่อนที่ผสมผสานออกซิเจนเข้ากับน้ำในระดับ ความลึกใต้ผิวน้ำได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จึงก่อให้เกิดกระบวนการ ทั้งการเติมอากาศ การกวนแบบผสมผสาน และการทำให้เกิดการไหลของน้ำเสียไปตามทิศทางที่กำหนดโดยพร้อมกัน เครื่องกลนี้สามารถที่จะบำบัดน้ำเสียที่มี ความสกปรก (BOD) 250 มิลลิกรัมต่อลิตร ได้วันละ 600 ลูกบาศก์เมตร ทำให้มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD ได้สูงกว่า 90 เปอร์เซนต์ และสิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายน้อยมาก โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงลูกบาศก์เมตรละ 96 สตางค์คิดเป็นจำนวนความสกปรกในหน่วยกิโลกรัม BOD เสียค่าใช้จ่าย 3.84 บาทเท่านั้น
...//***

โครงการเพื่อการศึกษา

โครงการศึกษาไทย... /
- ทุนภูมิพล ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๕ เพื่อสนับสนุนการศึกษาของชาติเริ่มดำเนินงานเป็นกองทุนจากรายได้้ในการจัด ฉายภาพยนตร์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ บาท ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ แห่งละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท เก็บดอกผลเป็นทุนการศึกษาของนิสิตนักศึกษา ต่อมาได้ขยาย ไปยังมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตราบถึง พ.ศ.๒๕๒๙ มีผู้ได้รับ ทุนและรางวัลประมาณ ๑,๑๓๗ คน เป็นเงิน ๓,๗๘๙,๓๘๐ บาท .
- ทุนเล่าเรียนหลวง เริ่มวางระเบียบเป็นหลักฐานเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ ในสมัยรัชการที่ ๕ เพื่อให้คนไทยนำความรู้สมัยใหม่จาก ต่างประเทศมาพัฒนาประเทศ ทุนนี้ได้ยุติลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้รื้อฟื้นขึ้นใหม่ใน พ.ศ.๒๕๐๘มีผู้รับทุนถึง พ.ศ.๒๕๒๙ จำนวน ๙๗ คน เป็นเงิน ๕๒,๔๐๒,๙๓๕.๔๓ บาท.
- โรงเรียนร่มเกล้า โรงเรียนร่มเกล้าแห่งแรกตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๕ ณ บ้านหนองแคน อำเภอนาแกจังหวัดนครพนม เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในชนบทห่างไกล บริเวณชายแดน และในเขตพื้นที่อันตราย เพื่อให้เด็กและเยาวชนในชนบทได้มีที่เรียนและสามารถ เรียนต่อระดับมัธยมศึกษาในท้องถิ่นของตน เป็นการให้ความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส ในชนบทห่างไกล.
- โรงเรียนจิตรลดา เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อใช้เป็นที่ทรงศึกษาของสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญาและพระสหาย ดำเนินงานสร้างเป็นโรงเรียนเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ และจดทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๑ เปิดรับนักเรียนทั่วไป จำนวนที่ศึกษาสำเร็จไปแล้วถึง พ.ศ.๒๕๒๘ จำนวน ๖๔๐ คน.
- มูลนิธิอานันทมหิดล ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อให้โอกาสนักศึกษาที่มีความสามารถยอดเยี่ยมไปศึกษาวิชาชั้นสูงในต่างประเทศ แต่เดิมให้ทุนเฉพาะนักศึกษาแผนกวิชาแพทยศาสตร์ต่อมาขยายให้แก่นักศึกษาแผนก วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสาสตร์ เกษตรศาสตร์ ธรรมศาสตรและอักษรศาสตร์ มูลนิธิได้จ่ายเงินเพื่อ การนี้ถึงเดือนมีนาคม ๒๕๒๙ เป็นเงิน ๘๔,๕๔๙,๗๓๙.๐๑ บาทมีผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วถึง เดือนมิถุนายน ๒๕๒๙ รวม ๑๐๕ คน .
-โรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ เริ่มเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๙ เพื่อสอนหนังสือให้แก่เด็กชาวเขาและประชาชนที่ห่างไกลคมนาคม เพื่อขจัดความ ไม่รู้หนังสือ และเป็นการผูกมิตรเข้าถึงประชาชน ภายหลังมอบใหกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานที่ รับผิดชอบในด้านการจัดดำเนินการ***...
/edu.htm

โครงการแก้มลิง

"...ตามปกติ เวลาเราให้กล้วยกับลิง ลิงจะเคี้ยวแล้วเก็บไว้ในแก้มลิง... เขาเคี้ยวแล้วเอาไปเก็บในแก้ม น้ำท่วมลงมา ถ้าไม่ทำ "โครงการแก้มลิง" น้ำท่วมนี้จะเปรอะไปหมด อย่างที่เปรอะปีนี้ เปรอะไปทั่วภาคกลาง จะต้องทำ "แก้มลิง" เพื่อที่จะเอาน้ำปีนี้ไปเก็บไว้..."
"โครงการแก้มลิง" เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแนวพระราชดำริ โดยประกอบด้วยโครงการขุดลอกคลองระบายน้ำและกำจัดวัชพืชโครงการปรับปรุงและก่อสร้างสถานีสูบน้ำและประตูระบายน้ำ ตามที่ได้เกิดสภาวะน้ำท่วมหนัก ในลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ อันสืบเนื่องมาจากฝนตกหนักในลุ่มน้ำตอนบน ทำให้ปริมาณน้ำจำนวนมากไหลหลากท่วมพื้นที่อย่างรุนแรงในลุ่มแม่น้ำยมและน่านเสริมกับปริมาณน้ำล้นอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ไปหลากท่วมพื้นที่ทางด้านท้ายน้ำอย่างหนัก และส่งผล กระทบต่สภาวะน้ำท่วมในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างซึ่งรวมถึงเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นเวลานานกว่า ๒ เดือน
แนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ
ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม
ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมืองและเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก
ที่มา
ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ
ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ
ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิทเป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบนร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น...
โครงการแก้มลิงแม่น้ำท่าจีนตอนล่างจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์ต้องดำเนินการครบระบบ ๓ โครงการด้วยกัน คือ
๑. โครงการแก้มลิง "แม่น้ำท่าจีนตอนล่าง ๒. โครงการแก้มลิง "คลองมหาชัย-คลองสนามชัย" ๓. โครงการแก้มลิง "คลองสุนัขหอน" โครงการแก้มลิงนับเป็นนิมิตหมายที่จะนำพาชาวไทยให้รอดพ้นจากทุกข์ภัย ที่นำความเดือนร้อนแสนลำเค็ญมาสู่ชีวิตที่อบอุ่นปลอดภัยซึ่งแนวพระราชดำริอันเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านน้ำท่วมนี้ มีพระราชดำริเพิ่มเติมว่า+++.
"...ได้ดำเนินการในแนวทาง ที่ถูกต้องแล้ว ขอให้รีบเร่งหาวิธีปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพต่อไปเพราะโครงการแก้มลิงในอนาคตจะสามารถช่วยพื้นที่ได้หลายพื้นที่..."

วันอังคารที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่น

คำว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือ ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ความรู้ของชาวบ้านในท้องถิ่นซึ่งได้มาจากประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดของชาวบ้าน รวมทั้งความรู้ที่สั่งสมมาแต่บรรพบุรุษ สืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ระหว่างการสืบทอดมีการปรับ ประยุกต์และเปลี่ยนแปลง จนอาจเกิดเป็นความรู้ใหม่ตามสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่ประกอบไปด้วยคุณธรรมซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านในวิถีดั้ง***.

วันอาทิตย์ที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

วันอาทิตย์ที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอุทัยธานี







ชุดผ้าทอ ,ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ
1. ฟืม
2. กี่พื้นบาน
3. เครื่องกรอด้าย
4. กระสวยและหลอดด้าย
5. ไม้เก็บ 6.ไม้หลาบ 7.ไม้คิว 8.กรรไกร 9. ปอย
การย้อมสีด้ายเพื่อทอผ้าลายโบราณ ต้องอาศัยเทคนิควิธีพิเศษที่ยังคงปฏิบัติตามกรรมวิธีย้อมที่ถ่ายทอดวิธีการมาจากบรรพบุรุษมาเป็นเวลา 200-300 ปี อย่างเคร่งครัด โดยจะใช้สีวัสดุจากธรรมชาติทั้งหมดได้แก่ เปลือกไม้ ใบไม้ ผลไม้ ดอกไม้เช่น สีจากเปลือกฝาง เปลือกเพกา เปลือกจาน ใบสัก ใบกระท้อนใบซึก เป็นต้น ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1. กรองน้ำให้สะอาด 2. ต้มน้ำเพื่อเตรียมการแยกไขมัน3. ต้มฝ้ายเพื่อแยกไขมัน 4. นำฝ้ายที่แยกไขมันแล้วขึ้นมาผึ่งให้แห้ง 5. เตรียมวัสดุสีธรรมชาติ ( ใบไม้ , เปลือกไม้ , ผลไม้ , ดอกไม้ ) 6. ต้มให้สีของใบไม้ เปลือกไม้ออกทิ้งไว้ให้ตกตะกอน 7. ต้มฝ้ายในน้ำผสมจุนสีหรือสารส้มเพื่อให้สีติดแน่น 8. นำสีธรรมชาติที่ต้มแล้วมากรองแล้วนำมาต้มเพื่อเตรียมการย้อม 9. ต้มฝ้ายกับสีธรรมชาติ 10. นำฝ้ายที่ย้อมแล้วมาแช่ในน้ำยากันสีตก 11. นำมาล้างน้ำที่สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง
สนใจติดต่อได้ที่
กลุ่มผู้ผลิตบ้านนาตาโพ คุณอำไพ สารรัตน์ บ้านเลขที่ 4 หมู่ 3
ต.บ้านพึง อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี 61140 โทร. 01-9710521 ,
01-9532372....*** ///



ภูมิปัญญาท้องถิ่นเชียงใหม่

ร่มกระดาษสาแบบบ่อสร้าง
การทำร่มกระดาษสาของบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพงนี้ มีกรรมวิธีที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งสืบทอดจากการคิดค้นสร้างสรรค์มาเป็นเวลายาวนาน ต้องอาศัยความชำนาญและฝีมืออย่างสูง รวมทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
ส่วนประกอบสำคัญ
ส่วนประกอบสำคัญของร่มกระดาษสานั้นมีอยู่หลายอย่างด้วยกัน ได้แก่
- หัวร่มหรือกำพู คือ ส่วนที่อยู่บนสุดของคันร่ม ทำด้วยไม้เนื้ออ่อน
- ตุ้มร่ม คือ ส่วนที่ประกอบกับซี่ร่มสั้น อยู่ด้านล่าง มีลักษณะเดียวกับหัวร่ม
- ซี่ร่ม แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ซี่ร่มสั้นและซี่ร่มยาว จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของร่ม โดยซี่ร่มสั้นเป็นส่วนที่อยู่ติดกับตุ้มร่ม ทำหน้าที่เป็นตัวค้ำยันซี่ร่มยาว ร่มจะหุบหรือการได้ก็ขึ้นอยุ่กับซี่ร่มนี้เอง ซึ่งจะนำมาประกอบกับหัวร่มด้วยการใช้เชือกมัด ส่วนของซี่ร่มนี้ใช้ไม้ไผ่ทำเนื่องจากไม้ไผ่สามารถนำมาตัดซอยเป็นซี่เล็ก ๆ ได้ง่าย
- คันร่ม คือ ส่วนที่เป็นด้ามใช้สำหรับถือ ตรงด้านบนใกล้ ๆ ตุ้มร่มที่ประกอบติดกับซี่ร่มสั้นมีลวดสลักในรูสำหรับยึดซี่ร่มไม่ให้หุบลงเวลากางออกและเมื่อกดลวดสลักลงกลับในรู ร่มก็จะหุบเพราะตุ้มร่มจะรูดลงมา ส่วนของคัดร่มนี้ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้เนื้ออ่อนชนิดอื่น
- กระดาษสาสำหรับปิดร่ม คือ ส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับกันแดดกันฝน
การทำร่มกระดาษสาบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง นี้มีกรรมวิธีผลิตที่ค่อนข้างซับซ้อน ที่สืบทอดกันมาจากความคิดค้นสร้างสรรค์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่นอันยาวนาน สืบทอดมีความเป็นมาและวิวัฒนาการจนมาเป็นร่มกระดาษสาที่เราได้เห็นในปัจจุบัน เอกลักษณ์ของร่มกระดาษสานี้ ก็คือกรรมวิธีในการผลิตต้องอาศัยความชำนาญ และฝีมืออย่างสูง อีกทั้งฝีมือในการแต่งแต้มลวดลายอันงดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วย
อิๆๆๆพิลิกจังเลยนะเนี่ย...?

วันพุธที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอบางแพ

การผลิตกุยช่ายขาย โดยการผลิตจากกุยช่ายเขียวเป็นการเพิ่มมูลค่าโดยใช้กระถางดินเผาครอบต้นกุยช่ายเพื่อไม่ให้สังเคราะห์แสง ทำให้ต้นและใบของกุยช่ายจะมีสีเหลืองปนขาวเรียกว่า "กุยช่ายขาว" จากปกติชนิดเขียว ราคา 12 - 20 บาท แต่เมื่อเป็นชนิดขาว จะมีราคาเพิ่มเป็น 90 - 100 บาทต่อกิโลกรัม ...
สนใจติดต่อได้ที่ นางวนิดา หนูเล็ก บ้านเลขที่ 9/5 หมู่ 7 ตำบลบางแพ จังหวัดราชบุรี โทร.081-9811720 .//***

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอโพธาราม

การทอผ้าด้วยกี่ทอมือ เป็นภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั่งเดิมโดยการนำใยฟ้ายหรือใยไหมมาสาวปั่นเป็นเส้นใยแล้วมัดย้อมให้ได้สีีตามต้องการ แล้วจึงนำมาขัดทอเป็นลวดลายเพื่อใช้ในการส่วมใส่ แต่ในปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีเข้ามาจึงมีการใช้เครื่องทอผ้าแทนการทอผ้าด้วยกี่กระตุกจึงน้อยลงไปคุณป้าสุนันทา บัวจีน เป็นผู้หนึ่งที่ต้องการอนุรักษ์ภูมิปัญญานี้ไว้ให้กับเยาวชนรุ่นลูกรุ่นหลานสืบต่อไป จึงได้นำลูกหลานและเพื่อนบ้านใกล้เคียงมาฝึกทอผ้าเพื่อสิบทอดภูมิปัญญานี้ไว้
สนใจติดต่อได้ที่ +++ นางสาวสุนันทา บัวจีน บ้านเลขที่ 106 หมุ่ที่ 7 ตำบลคลองข่อย อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 70120 เบอร์โทรศัพย ์089-9108147 ...

ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอสวนผึ้ง

ศิลปะรากไม้ เป็นงานศิลปะไม่ซ้ำแบบเดิมกระตุ้นจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ทรัพยากร เพิ่มมูลค่าทรัพยากรและเกิดความยั่งยืนในการใช้ทรัพยากรการทำคือการนำเศษซากรากไม้ กิ่งไม้มาตัดต่อขัดเกลา เพิ่มสี สรรให้สวยงามสามารถใช้ประโยชน์ตกแต่งประดับ ฯลฯ โดยสร้างรูปทรงจากเค้าโครงของธรรมชาติ ให้มีความสมบูรณ์ในเชิงศิลปะและการนำวัสดุอื่น ๆ มาประกอบตามความเหมาะสม ของเรื่องที่ประดิษฐ์นั้น...
สนใจติดต่อ >>>นายทองเติม ทุรันตะวิริยะบ้านเลขที่ 61หมู่ 4 ตำบลตะนาวศรี อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี>>>สำนักงานเกษตรอำเภอสวนผึ้ง
โทร. 032-395019 ...***.